Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

TQR โชว์กำไร Q1/68 นิวไฮ พุ่งแตะ 33.02 ลบ.

TQR โชว์กำไร Q1/68 นิวไฮ พุ่งแตะ 33.02 ลบ.
1
เขียนโดย intrend online 2025-05-13

บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 กำไรสุทธิ 33.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.20% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ อานิสงส์รับรู้รายได้จากธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อ Alternative-Traditional ฟากบิ๊กบอส "ชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์" ระบุ มั่นใจรายได้ปี 68 โต 5-10% นิวไฮต่อเนื่อง จากการพัฒนาประกันภัยต่อรูปแบบใหม่ ร่วมกับบริษัทประกันภัยชั้นนำ ทั้งประกันภัยต่อ Cyber-A&H-D&O-ESG ขณะที่ บริษัทร่วมทุน อัลฟ่าเซคฯ-อาร์สแควร์ฯ มีรายได้อย่างต่อเนื่อง หนุนผลงานเติบโตแข็งแกร่ง

นายชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) (TQR) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2568) มีกำไรสุทธิ 33.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.20% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 30.51 ล้านบาท และมีรายได้รวม 82.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.18% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีรายได้รวม 80.69 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่

สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้รายได้และกำไรเพิ่มขึ้น มาจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อแบบพัฒนาช่องทางและผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน (Alternative Business) และธุรกิจนายหน้าประภัยต่อแบบทั่วไป (Traditional Business)

“ธุรกิจประกันภัยและประกันภัยต่อเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง และมีความท้าทายตลอดเวลา โดยต้องเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สงครามการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ แต่ด้วยการขับเคลื่อนของทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญในด้านประกันภัยและประกันภัยต่อ ประกอบกับผู้บริโภคมีความต้องการทำประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถทำผลงานในไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งรายได้และกำไรเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง” นายชนะพันธุ์ กล่าว

นางยุพเรศ พิริยะพันธุ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) (TQR) กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายรายได้ในปีนี้เติบโตที่ระดับ 5-10% โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่ๆ ร่วมกับบริษัทประกันภัยชั้นนำ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และพร้อมเผชิญกับความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งประกันภัยต่อสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident and Health), ประกันภัยต่อไซเบอร์ (Cyber), ประกันภัยต่อความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers), ประกันภัยต่อการก่อการร้ายและภัยทางการเมือง (Political Violence), ประกันภัยต่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังร่วมกับบริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) (TQM) มีการพัฒนาประกันภัยและประกันภัยต่อที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการทำประกันภัยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการเกิดเหตุแผ่นดินไหว

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ร่วมทุน 2 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท อัลฟ่าเซค จำกัด โดย TQR ถือหุ้นในสัดส่วน 30% เพื่อประกอบธุรกิจประกันภัยไซเบอร์ และบริษัท อาร์สแควร์ จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการ (Service) ในด้าน Face Recognition ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะ AI เข้ามาปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ ยังมองหาโอกาสการขยายธุรกิจไปในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ในรูปแบบการควบรวมกิจการ (M&A) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของบริษัทฯ อย่างยั่งยืน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาโอกาสในการลงทุนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง